บันทึกเกี่ยวกับควอนตัม

หนังสือควอนตัม

วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พิจารณาหลักการพัฒนาการ

การพัฒนาทางปัญญาหรือความคิดของนักเรียนเป็นอีกองค์ประกอบหลักที่สำคัญมากในกระบวนการสร้างความเข้าใจ เป็นแบบฉบับที่ครูมีความเข้าใจหลักการพื้นฐานของทฤษฎีการพัฒนาทางปัญญา

ตัวอย่างในชั้นเรียนอนุบาล เด็กๆ เฝ้าดูครูนำดินน้ำมันจากถังสามถัง แต่ละถังใช้ปั้นลูกบอลเล็กๆ ได้แปดลูก และให้ลูกบอลหนึ่งลูกแก่เด็กแต่ละคน  นักเรียนทั้งหมดนับได้ 24 ลูกบอลได้อย่างถูกต้อง และกล่าวได้ว่าเด็กแต่ละคนได้รับส่วนแบ่งอย่างเท่าเทียมกัน  เด็กจะทราบหรือไม่ว่าครูใด้แบ่งดินน้ำมันในแต่ละถังเป็นลูกบอลแต่ละลูก 1/8 ของดินในแต่ละถัง  และเป็น 1/24 ของดินน้ำมันทั้งหมด 3 ถัง  เด็กนักเรียนทั้งหมดนั่งอยู่ในห้องเรียนและพวกเขาเห็นว่าเกิดอะไรขึ้นกับดินน้ำมันทั้ง 3 ถัง แต่นักเรียนในชั้นเรียนอนุบาลยังยุ่งอยู่กับการใช้ความคิดกับความสัมพันธ์และความเข้าใจอื่น ซึ่งทำให้เด็กนักเรียนเข้าร่วมในการนับ การกระจาย การจับคู่เหมือน  และที่สำคัญที่เด็กได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนามโนทัศน์สำคัญของจำนวน  เด็กทั้งหมดไม่ได้พิจารณาถึงลูกบอลดินน้ำมันเป็น 1/8 ของถัง และทันทีคิดใด้เป็น 1/24 ของทั้งหมด  พวกเขาไม่ได้สร้างมโนทัศน์ที่สัดส่วนบอกเป็นนัยถึงสัมพันธภาพ แต่พวกเขาได้สร้างมโนทัศน์อื่นให้มั่นคงขึ้น ในการเรียงลำดับจำนวน การเข้าคู่หนึ่งต่อหนึ่งที่ตรงกันระหว่างนักเรียนในชั้นเรียน และลูกบอลดินที่ได้รับ เป็นการสร้างความเข้าใจที่มีความหมายต่อพวกเขา

เพื่อทำให้ความโน้มเอียงเป็นไปได้มากที่สุดที่นักเรียนเข้าร่วมในการสร้างความหมาย ครูควรจะได้ตีความสิ่งที่นักเรียนได้ตอบสนองในเทอมของการพัฒนาการ  และต้องตระหนักถึงเทอมพัฒนาการเหล่านั้น  ครูที่ให้คุณค่ากับมโนทัศน์ของนักเรียนในภาวะปัจจุบัน มากกว่าการวัดว่าใกล้ ไกลจากการสร้างมโนทัศน์ จะช่วยนักเรียนสร้างความเข้าใจในแต่ละบุคคลที่สำคัญต่อพวกเขามากกว่า  ในเรื่องนี้ Pepert (1988) ได้อภิปรายว่า นักเรียนไม่ได้คิดแต่งเรื่องจำนวน แต่พวกเข้าสร้างขึ้น และก็ไม่ได้สร้างขึ้นทั้งหมดทีเดียวจากที่ไม่มีอะไร  การสร้างมโนทัศน์เป็นกระบวนการที่ยาวนานในการสร้างโครงสร้างทางปัญญาที่เปลี่ยนแปลงและ ปฏิสัมพันธ์ ควบรวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น