บันทึกเกี่ยวกับควอนตัม

หนังสือควอนตัม

วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การสร้างความเข้าใจ

ตั้งแต่เราเกิดมาเราได้สร้างความเข้าใจในโลกที่เราอาศัยอยู่ แสวงหาเครื่องมือต่างๆเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจประสบการณ์ของเรา เป็นธรรมชาติของคนเราในการสร้างความเข้าใจ มีทั้งที่ง่าย และที่ยุ่งยากซับซ้อน จาการสะท้อนคิดจากที่ได้ปฏิสัมพันธ์กับทั้งวัตถุ และแนวคิดต่างๆ

การเข้าใจโลกที่อยู่รอบตัวได้ก็โดยการสังเคราะห์ประสบการณ์ใหม่เข้ากับประสบการณืเดิมความเข้าใจเดิมที่มีอยู่แล้ว และก็มีบ่อยครั้งที่เราประสบกับ วัตถุสาร แนวคิด และความสัมพันธ์บางอย่าง หรือปรากฏการณ์ที่ยังมีคำอธิบายได้ไม่ชัดเจน เมื่อประสบกับข้อมูลที่ไม่ตรงหรือแย้งกับที่รับรู้มาแล้ว

โดยที่เราตีความสิ่งที่เห็นแล้วยอมตามชุดของกฏเกณฑ์ที่มีอยู่จากประสบการณ์เดิม  เพื่ออธิบายและจัดระเบียบประสบการณ์โลก หรืออาจจะสร้างชุดของหลักเกณฑ์ใหม่ที่ให้คำอธิบายที่ดีกว่า  สำหรับสิ่งที่รู้ เข้าใจที่เกิดขึ้นดังกล่าว  การรับรู้ของเรา และกฏเกณฑ์ใหม่เข้ามามีส่วนร่วมสะสมเพิ่มเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ เป็นองค์ประกอบที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนความเข้าใจของเรา

Piaget และ Inhelder (1971) ชี้ให้เห็นว่าความรู้ไม่ได้มาจาก ร่างกาย วัตถุ หรือ ภาจในใจ อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เกิดจากทั้งสองรวมเป็นหนึ่งเดี่ยว   นั่นก็คือร่างกายและจิตใจเป็นผู้สร้างความเข้าใจนั่นเอง  ในประเด็นนี้ พิจารณาเด็กที่ลงเล่นน้ำทะเลเป็นครั้งแรก โดยการปฏิสัมพันธ์กับน้ำ โดยการสัมผัสกับน้ำโดยวิธีการต่างๆ แล้วเด็กก็จะสะท้อนคิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ดังกล่าว ที่เป็นไปได้ทั้งหมดนำไปสู่การเปลี่ยนโครงสร้างทางความคิดเกี่ยว  ฟอสนอสเคยให้ควมเห็นว่า การเรียนรู้ไม่ใช่การค้นพบมากขึ้น แต่เป็นการตีความผ่านโครงสร้างทางปัญญาที่ต่างกัน

ที่ช่วงการพัฒนาการของเด็กที่แตกต่างกัน ดังนั้นเป็นไปได้ที่เด็กจะสร้างความเข้าใจที่ซับซ้อนแตกต่างกัน เด็กเล็กรับรู้รสชาดของน้ำทะเลที่ผอืนผอม แต่เมือเด็กโตขึ้นก็เข้าใจทางเคมีของน้ำทะเลว่ามีรสเค็ม และที่บางช่วงของพัฒนาการเขาอาจจะตรวจสอบว่าสารละลายเกลือนำไฟฟ้าได้อย่างไร หรือพลังอำนาจของน้ำขึ้นน้ำลงสามารถนำมาจัดการให้เป็นแหล่งพลังงานที่มีประโยชน์  ความเข้าใจแต่ละเรื่องดังกล่าวเป็นผลจากการเพิ่มความซับซ้อนในการคิดด้วยโครงสร้างทางปัญญาของพวกเขา การสร้างความเข้าใจใหม่แต่ละอย่างจะขึ้นอยู่กับความสามารถทางปัญญาที่จะปรับข้อมูลที่แยังกับที่รับรู้ให้เหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น