บันทึกเกี่ยวกับควอนตัม

หนังสือควอนตัม

วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ความสำเร็จทางการเรียน

จากการยึดมั่นถือมั่นในหลักสูตรที่เป็นเหมือนอะไรทุกอย่างที่น่าเกรงขาม และสิ่งที่เป็นเรื่องรองลงมาคือมโนทัศน์ที่ติดตัวนักเรียนมา ที่แสดงออกมาให้เห็นอันเป็นที่น่ากังวล  นักเรียนจำนวนมากต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อจะเข้าใจมโนทัศน์ที่แยกส่วนไปอยู่เพียงลำพังเพื่อเรียนรู้เป็นส่วนๆ โดยไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด เพื่อที่จะสร้างการเชื่อมโยงขณะที่นักเรียนเห็นเฉพาะความแตกต่างกันของส่วนดังกล่าว และให้ยอมรับว่าคือสภาพที่เป็นจริง ตามคำถามที่นักเรียนรับรู้มา

สำหรับนักเรียนมากมายที่เรียนดีประสบผลสำเร็จของโรงเรียนมีน้อยมากที่เรียนรู้ถึงความเข้าใจที่แท้จริง และที่มักจะทำกันมากเพื่อให้ครอบคลุมตามหลักสูตร  ในโรงเรียนจำนวนมากยึดถือเอาหลักสูตรเป็นเหมือนสิ่งสมบูรณ์แบบ ครูระมัดระวังที่จะโน้มน้าวค้ำจุนหลักสูตร แม้ว่าในที่ที่พบว่านักเรียนไม่ได้เข้าใจมโนทัศน์ที่สำคัญอย่างชัดเจน แทนที่ครูจะปรับหลักสูตรให้ตรงกับความจำเป็นของนักเรียน การตอบสนองต่อประเพณีนิยมหรือระบบที่เหนือกว่า ที่มองนักเรียนผู้ที่มีความยุ่งยากกับความเข้าใจของหลักสูตรที่ไม่เหลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นนักเรียนที่เรียนช้าหรือไม่มีความสามารถ  ซึ่งอาจถูกถอนออกจากชั้นเรียนหลัก แล้วให้การเรียนซ่อมเสริมที่ความเข้มข้นลดน้อยลงไป

แม้ว่านักเรียนผู้ที่มีความสามารถที่แสดงถึงความสำเร็จทางการเรียน เป็นผู้ที่สอบผ่านแบบทดสอบด้วยคะแนนที่สูงได้รับเกียรติบัตรเรียนดี บ่อยครั้งไม่สามารถเชื่อมโยงสารสนเทศที่นักเรียนได้รับจากการเรียนในโรงเรียนมาตีความเข้ากับโลกรอบตัวเขา งานวิจัยทางการศึกษาจำนวนมากหลายสิบปีชี้ชัดว่า นักเรียนที่ได้รับการฝึกหัดอย่างดีที่แสดงสัญญาณของความสำเร็จอย่างเด่นชัด เข้าศึกษาในโรงเรียนดีมีชื่อเสียงเกรดผลการเรียนรวบยอดดีมาก ผ่านคะแนนทดสอบในระดับสูงแล้วก็ตาม ก็ยังไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในสื่อการเรียนรู้และมโนทัศน์ที่ได้ศึกษามาแล้วในโรงเรียน

ในหลายท้องที่ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคทั่วประเทศ นักเรียนใช้เวลามากพอควรในการเตรียมสอบ ข้อสอบมาตรฐานแบบต่างๆ ที่ให้สอบอยู่ทั่วประเทศ ตัวอย่างเช่น ครูที่สอน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ อาจช่วนเหลือนักเรียนในการจำสูตรต่างๆ และการพิสูจน์ต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้สอบผ่านการทดสอบ หรือด้วยสมรรถนะต่ำสุดที่ผ่าน และอีกสองสามเดือนต่อมา เมื่อเรียกให้นักเรียนคนเดียวกันที่ผ่านการสอบมาแล้วประยุกต์ใช้ หลักการทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ในข้อสอบ มีไม่กีเปอร์เซ็นต์ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถดังกล่าวได้  กล่าวได้ว่าแม้ว่าพิจารณาถึงความสำเร็จในเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนมัธยมปลาย  นักเรียนจำนวนมากไม่สามารถแสดงการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา โดยใช้แบบทดสอบในลักษณะเดียวกันกับที่เคยเรียนรู้มา เช่นข้อสอบปรนัยหลายตัวเลือก

Katz(1985) และ Gardner(1991)ได้อธิบายถึงความต่างกันของ ความสำเร็จที่เข้าใจจากการรับรู้ กับ ผลสำเร็จจริง (perceived and actual success) เป็นเหมือนกับความแตกต่างระหว่าง การเรียนรู้ กับ การปฏิบัติที่ทำได้ (Learning and Performance) เมื่ออภิปรายกันถึงความแตกต่างนี้ Katz(1985)ไห้น้ำหนักกับการเน้นการปฏิบัติที่ทำได้ ปกติแล้วมีผลให้จำมโนทัศน์ได้น้อยเมื่อเวลาผ่านไป ขณะที่เน้นการเรียนรู้ก่อให้เกิดความเข้าใจในระยะยาว  นักเรียนที่ได้รับการศึกษาในข้อกำหนดที่เน้นการปฏิบัติที่ทำได้ เรียนรู้เทคนิค กฏเกณฑ์และจำเนื้อหาเฉพาะมากกว่าบริบท ความจริงแท้ และองค์รวม ดังนั้นแทนที่จะแสวงหาความเข้าใจที่ลึกลงไปนักเรียนเหล่านี้จึงแสวงหายุทธวิธีง่ายสั้นเพื่อให้ชิ้นงานสำเร็จหรือผ่านการทดสอบ เมื่อเรียกให้ประยุกต์ใช้อะไรที่คาดหวังให้เรียนรู้ในอีกหลายสัปดาห์ต่อมา นักเรียนเกือบทั้งหมดไม่สามารถทำได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น