บันทึกเกี่ยวกับควอนตัม

หนังสือควอนตัม

วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การศึกษาเพื่อใคร ทำให้แตกต่างกัน

ในสังคมอเมริกายุคแรกๆ การศึกษาเป็นไปเพื่อชีวิตของผู้ใหญ่เป็นหลัก ไม่ใช่สำหรับชีวิตเด็ก โดยพื้นฐานเป็นการเตรียมสำหรับชีวิตผู้ใหญ่ 50 ปี ไม่ใช่ 20 ปีสำหรับวัยเด็ก การจัดการศึกษา เป็นการกระจายตัวมาจากธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรม ที่เป็นเหตุของจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา สำหรับ John Dewey ให้ความเห็นว่าการจัดการศึกษาเพื่อผู้ใหญ่นั้นจะปฏิเสธ ความอยากรู้อยากเห็นที่พลุ่งพล่านที่เด็กนำติดตัวไปโรงเรียน และทำให้เพิกถอนสิ่งที่สนใจอยู่ขณะนั้น และความสามารถที่มีแนวคิดเชิงนามธรรมในเรื่องที่นักเรียนประสงค์จะทำในอนาคต  Dewey จึงกระตุ้นให้จัดการศึกษาเป็นกระบวนการของความเป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ใช่เตรียมตัวเพื่ออยู่ในอนาคต

เมื่อเทียบกับสังคมไทยที่เป็นสังคมเจ้าขุนมูลนาย การศึกษาเริ่มจากในรั้วในวัง สำหรับเจ้านาย และขยายขอบเขตมาจัดการเรียนการสอนในวัด ที่พระมามีบทบาทสำคัญในการให้การศึกษายุคเริ่มแรกสำหรับคนทั่วไป ทำให้คนเริ่มรู้หนังสือ หรือผู้ได้รับการศึกษาจึงเป็นบุคคลสำคัญในสังคมมักทำงาน เหมือนกับเป็นเจ้านายได้รับการเคารพยกย่อง จึงทำให้เกิดค่านิยมเรียนให้สูงๆ แล้วจะได้เป็นเจ้าคนนายคน และส่งผลให้เรียนเพื่อให้ได้ปริญญาบัตรเพื่อจะได้เป็นใบเบิกทางที่จะกลับมาเป็นเจ้าตนนายคน และทำให้ความเป็นอยู่สดวกสบาย ไม่ได้จัดการศึกษาเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน หรือเพื่อรับใช้ประชาชน จัดการศึกษาเหมือนจะให้ผ่านๆ ไม่ได้จัดการศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งยกเว้นคนที่เก่งและสมองดี ที่อาจเรียนรู้ด้วยตนเองพัฒนาความรู้ วิชาชีพเฉพาะทางขึ้นบ้างเท่านั้น

โรงเรียนและครูสามารถทำทั้งสองพร้อมๆกัน ที่จัดให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง  และเตรียมนักเรียนสำหรับชีวิตวัยผู้ใหญ่โดยโดยเข้าใจให้ัความสำคัญกับการเคลื่อนไหวในการเรียนรู้ โดยรู้ถึง  กรณีนักเรียน การจัดการศึกษาต้องเป็นเวลาของความอยากรู้อยากเห็น การสำรวจ และการสืบเสาะ ส่วนการจำสารสนเทศจะต้องเป็นเรื่องรองจากการเรียนรู้วิธีการสืบค้นสารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาจริง แบบจำลองแบบผู้ใหญ่และเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมแสดงบทบาทที่มีนัยสำคัญในการพัฒนา นิสัย ของนักเรียนให้เป็นผู้เริ่มต้นยกประเด็นปัญหาและแก้ปัญหาด้วยตนเอง เมื่อนักเรียนทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ผู้ที่ยังมองตัวเองเป็นผู้เรียน เป็นผู้ตั้งคำถามด้วยตัวเขาเองที่ยังคงยึดถือไว้ เป็นผู้ที่ตั้งใจและสามารถเปลี่ยนแปลงทั้งเนื้อหาและการปฏิบัติในการติดตามความหมาย และผู้ซึงปฏิบัติต่อนักเรียนและความพยายามของเขาขณะที่งานก้าวหน้าไป ไม่ใช่เป็นผลผลิตที่สำเร็จแล้ว  นักเรียนมักโน้มเอียงที่จะแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของเขาเอง

ทำนองเดียวกันที่เมื่อสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนซึ่งนักเรียนใช้เวลาอยู่ประจำวัน  ที่จัดโครงสร้างให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียนได้รับการกระตุ้นส่งเสริม ให้คุณค่ากับการร่วมไม้ร่วมมือเป็นทีม การบ้านและสื่อการเรียนเป็นแบบบูรณาการและนักเรียนมีอิสระที่จะแสวงหาถึงแนวคิดของตัวเองที่มีอย่างล้นเหลือ นักเรียนมีความโน้มเอียงที่อยากเสี่ยง และแนวทางของงานที่ได้รับมอบหมาย ก็รับเอาความท้าทายที่เข้ากับความเข้าใจในปัจจุบัน  โมเดลบทบาทของครูเช่นนี้และเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญนักเรียนเป็นเหมือนนักคิดที่แตกหน่อยอดออกมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น