บันทึกเกี่ยวกับควอนตัม

หนังสือควอนตัม

วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ครูแบบคอนสตรักติวิส

ตามแนวการเรียนแบบคอนสตรักติวิสที่เราสร้างความเข้าใจในแต่ละบุคคลเกี่ยวกับโลกของเรา และยืนยันว่าโรงเรียนต้องแสดงบทบาทสำคัญเป็นกระบวนการนั้นดูเหมือนว่าง่าย  แต่ที่ดูเหมือนว่าง่ายตามที่เสนอกันมานั้นค่อนข้างจะยากในการดำเนินการในทางปฏิบัติ

การเป็นครูแบบคอนสตรักติวิสไม่ใช่เรื่องง่าย  ที่ต้องมีการวิเคราะห์ทั้งการวางแผนหลักสูตร และวิธีสอนอย่างต่อเนื่องในระหว่างกระบวนการเรียนรู้เพื่อที่จะเป็นครู  การฝึกหัดในการสะท้อนคิดสำหรับครูทั้งหมดมักจะไม่ค่อยได้เตรียมตัวมา

ครูแทบทั้งหมดเห็นพ้องกับการสืบเสาะและเป้าหมายตามแนวทางคอนสตรักติวิส  โดยครูต้องการให้นักเรียนรับผิดชอบต่อการเรียนของตัวเอง เป็นนักคิดที่เป็นตัวของตัวเอง พัฒนาความเข้าใจแบบบูรณาการมโนทัศน์ และตั้งกำหนดนำเสนอปัญหา และแสวงหาคำตอบ จากคำถามที่สำคัญ  ครูบางคนอาจคิดว่าประสบปัญหาในการฝึกหัดวิธีการแบบคอนสตรักติวิส  เส้นทางที่จะเป็นครูแบบคอนสตรักติวิสนั้นคดเคี้ยววกวน  จากความทรงจำที่ผ่านมาในโรงเรียนที่เป็นนักเรียน ความเป็นมืออาชีพทางการศึกษาของเรา ความเชื่อที่ยึดถือลึกลงไป คุณค่าที่เรายึดมั่นมากที่สุด และความจริงที่เป็นส่วนเฉพาะบุคคล และวิสัยทัศน์สำหรับอนาคต Bruner(1986) ให้ความเห็นว่า  การสร้างสรรค์โลกขึ้น เริ่มจากโลกที่มีมาก่อน เป็นโลกที่เรารับเอามาและให้อะไรกลับที่จำกัดโดยรูปแบบธรรมชาติของโลก ซึ่งเราเริ่มที่จะดัดแปลงสร้างใหม่ ไม่ใช่เป็นสัมพันธ์ภาพที่มาปิคนิคกัน สุดท้ายแล้วมันเป็นธุรกรรมของความหมายโดยมนุษย์เรา มนุติดอาวุธด้วยปัญญาและค้ำจุนด้วยความศรัธา ด้วยสำนึกรู้ที่สามารถสร้างขึ้น และสร้างใหม่ นั้นเป็นการสร้างวัฒนธรรมของมนุษย์ขึ้น มา ไม่ได้หมายถึงการเห็นพ้องอย่างผิวเผิน

เป็นสิ่งสำคัญที่เราร่วมกัน สำรวจแนวทางคอนสตรักติวิส ที่จะนำแนวทางนี้เข้าสู่การปฏิบัติ ตัวอย่างการสอนของครูใหม่ที่เริ่มการสอนเป็นครั้งแรก  โดยได้เข้าประชุมพูดคุยกับทีมของครู ที่จะพูดถึงเรื่องที่จะไปสอน และพูดถึงให้มองภาพใหญ่ หรือ ภาพรวม (Big picture) ในการสอนหน่วยโมโครสโคป ไม่ใช่เพียงแต่ตามตำรา แต่เริ่มคิดในเทอมของหน่วย ก่อนสอนก็ต้องมีบทเรียนที่หาได้ จากทีมของครูให้ข้อคิดไว้ว่า  หน่วยไมโครสโคปนั้นจริงแล้วเกี่ยวกับอะไร ในที่สุดครูก็ได้แนวคิด "มองให้ใกล้ชิดกับชีวิต take a closer look at life" และสร้างเรื่องคู่ขนานกันไป ที่ให้มองอย่างใกล้ชิดเช่นกัน ที่เปลวไฟที่กำลังลุกไหม้
ไม่ได้ให้เอากล้องจุลทัศน์ไปมองดู เป็นการเทียบเคียงไม่ใกล้เคียงนัก

ครูเปิดบทเรียนแรกด้วยคำถาม พวกเธอคิดว่าวิทยาศาสตร์ของชีวิตเกี่ยวข้องกับอะไร นักเรียนอาจตอบกลับมาด้วยคำตอบคำเดียว สิ่งมีชีวิต สัตว พืช ครูตอบสนองด้วย ครับ คะ ใช่เลย ครูเล่าเรื่องที่เทียบเคียงอุปกรณ์สร้างไฟ ที่สามารถเห็นหลายอย่างในไฟ และหลายอย่างทางวิทยาศาสตร์ แล้วมาถึงจุดที่ให้นักเรียนเอาตำราขึ้นมาแล้วให้ทำกิจกรรมบางอย่าง  จากนั้นครูอาจแจกรูปถ่ายเอกสารให้นักเรียนให้ดูภาพลวงตาที่ดูเป็นแจกันหรือหน้าคนสองหน้า แล้วบอกนักเรียนว่า ในทางวิทยาศาสตร์ว่านักเรียนต้องพัฒนาสายตาแบบมีวิจารณาญาน ให้นักเรียนทุกคนเขียนสิ่งที่มองเห็น แล้วคำถามต่อไปคือ ใครสามารถเห็นแจกันดอกไม้ และใครมองเห็นสองหน้าคน

แผนจัดการเรียนรู้หรือบทเรียนมีองค์ประกอบหลายอย่างตามแนวทางคอนสตรักติวิส การสอนที่ผ่านมาไม่ได้ทำตามแนวทางนี้ เช่นเปิดประเด็นคำถามปลายเปิดกว้างแล้วเรียกให้นักเรียนได้แบ่งปันทัศนะปัจจุบันของพวกเขาแต่ยอมรับคำตอบเพียงคำหรือสองคำยังไม่มีส่วนเสริมเห็นด้วยไม่เห็นด้วยในส่วนของผู้พูดด้วยเหตุผลใด และส่วนที่สะท้อนจากกลุ่ม  จากที่ครูว่างแผนให้นักเรียนอภิปรายเทียบเคียง แต่ครูยกการเทียบเคียงเสียเอง แทนที่ถามคำถามให้นักเรียนสร้างการเทียบเคียงเอง  ครูพยายามที่จะบูรณาการวิทยาศาสตร์ วรรณคดี และศิลปกระตุ้นนักเรียน ท้าทายให้แสดงทัศนะของตัวเอง แต่กลับถามช่วงทัศนะเพียงเห็นแจกันหรือหน้าคนก่อนที่จะให้เวลานักเรียนหาด้วยตนเองก่อน

การที่ครูใหม่วางแผนคิดสร้างจินตนาการในเรื่อง มองให้ใกล้ชิดเป็นเรื่องน่ายินดี การออกแบบบทเรียนจัดโครงสร้างอย่างระมัดระวังที่จะแบ่งบันความคิดสร้างสรรค์ของครู แต่การทำเช่นนั้นก็ไปจำกัดโอกาสที่จะเปิดให้มีจินตนาการของนักเรียน  บทเรียนแบบนี้ไม่ได้เป็นการเชื้อเชิญให้เกิดการสำรวจเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง และเป็นวิธีการเล่าเรื่องเนื้อหา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น